Quantcast
Channel: ER goldbook
Viewing all articles
Browse latest Browse all 546

BLS for health care provider

$
0
0
BLS (2015) for health care provider

Scene safety: ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเสมอ
Team approach เพราะในสถานการณ์จริงมักจะอยู่พร้อมกันหลายคน ให้แบ่งงานกันทำ เช่น คนหนึ่งโทรเรียกคนมาช่วย คนหนึ่งปั๊มหัวใจ คนหนึ่งเปิดทางเดินหายใจคอยช่วยหายใจ คนหนึ่งไปหาเครื่อง AED เป็นต้น และถึงแม้จะอยู่คนเดียวก็สามารถทำหลายอย่างพร้อมๆกันได้ เช่น โทรศัพท์เปิด speaker พร้อมๆกับปั๊มหัวใจ เป็นต้น

Recognize & Activate emergency response system
  • เมื่อพบคนที่ไม่รู้สึกตัว ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้ๆ
  • ดูการหายใจพร้อมกับคลำ carotid artery ใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที (คลำ brachial a.ในทารกและ carotid/femoral a. ในเด็ก 5-10 วินาที)
ตำแหน่งการคลำ brachial artery ในทารก
  • โทรขอความช่วยเหลือและถามหาเครื่อง AED
  • ยกเว้น: เด็ก/ทารกที่เป็น unwitnessed collapse และผู้ใหญ่ cardiac arrest จากการจมน้ำหรือ FB obstruction ให้ CPR 2 นาที ก่อนตามคนช่วยเหลือ
  • ถ้ามีชีพจรแต่ต้องการการช่วยหายใจ ทำการช่วยหายใจ 5-6 วินาทีต่อครั้ง (10-12 ครั้งต่อนาที)  (ในเด็กทำการช่วยหายใจ3-5 วินาทีต่อครั้ง (12-20 ครั้งต่อนาที)) 
  • ถ้าสงสัยเกิดจาก opioid overdose ให้ Naloxone IN/IM
  • ถ้าไม่หายใจ หายใจเฮือก หรือไม่มี pulse ให้เริ่มทำ CPR(ในเด็กที่มี pulse < 60/min ร่วมกับมี poor perfusion ให้เริ่มทำ CPR เช่นกัน)


CPR: CAB
  • จัดผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นผิวที่แข็งในสถานที่ปลอดภัย
  • วางส้นมือซ้อนและขนานกันบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (ในเด็กตัวเล็กมากอาจใช้มือเดียว ในทารกใช้ 2 fingers ต่ำกว่า intermammary line หรือถ้ามีผู้ช่วยใช้ 2 thumb-encircling) 
  • กดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ
    • กดลึก 2-2.4 นิ้ว (5-6 ซม.) (ในเด็กและทารกให้กดหน้าอกอย่างน้อย 1/3 ของทรวงอก ประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.) ในเด็กและประมาณ 1.5 นิ้ว (4 ซม.) ในทารก)
    • กดเร็ว100-120 ครั้งต่อนาที
    • ปล่อยสุดไม่เอนตัวทิ้งน้ำหนักบนหน้าอก โดยให้ทรวงอกกลับคืนจนสุด พยายามให้เวลาในการกดและปล่อยทรวงอกพอๆกัน
  • รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด หยุดได้ไม่เกิน 10 วินาทีในกรณี ช่วยหายใจ คลำชีพจร ช็อกไฟฟ้าหัวใจ ใส่ ETT
ส้นมือวางตั้งฉากกับผู้ป่วย วางซ้อนและขนานกันบนครึ่งล่างของกระดูก sternum แขนตรง ศอกตึง ตั้งฉากกับผู้ป่วย ใช้สะโพกเป็นจุดหมุน และตะโกนนับดังๆเวลา CPR ด้วย

CPR: CAB
  • เปิดทางเดินหายใจโดยทำ Head tilt-chin lift
  • Jaw thrust :ในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังบริเวณคอ 
  • ทำ manual inline immobilization ในผู้ป่วยที่สงสัยการบาดเจ็บของไขสันหลัง

Jaw thrust
manual inline immobilization

 CPR:CAB
  • หลังจากทำการกดหน้าอกไป 30 ครั้งจึงเริ่มช่วยหายใจ 2 ครั้ง
  • ช่วยหายใจแต่ละครั้งมากกว่า 1 วินาที
  • ให้ปริมาตรเพียงที่เห็นหน้าอกเคลื่อนไหว (ประมาณ 500-600 mL หรือ 6-7 mL/kg)
  • เวลารวมในการช่วยหายใจไม่เกิน 10 วินาที
  • กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2) เปลี่ยนผู้ทำการกดหน้าอกทุก 2 นาที (~ 5 รอบ) (ในเด็กและทารกถ้ามีผู้ช่วยให้ทำ 15:2) **ใช้เวลาเปลี่ยนตำแหน่งกันภายใน 5 วินาที
  • การช่วยหายใจมีหลายวิธี เช่น mouth-to-mouth, mouth-to-nose, mouth-to-stoma, mouth-to-mask เป็นต้น
การวาง mask ให้วางเริ่มจากฝั่งด้านจมูกก่อน
วิธีการจัด mouth-to-mask ในการช่วยหายใจ
  • Bag-mask ventilation
    • เลือกใช้หน้ากากชนิดใส
    • บีบประมาณ 2/3 ของ adult bag ขนาด 1 ลิตร (TV 600 mL)
    • เปิด Oxygen มากกว่า 10-12 L/min จะได้ Oxygen concentration ~ 40%
  • ถ้าผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจแล้วให้ช่วยหายใจ 1 ครั้งทุกๆ 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที) โดยที่ไม่ต้องหยุดขณะทำการกดหน้าอก

***ถ้าจะทำ chest compression only CPR การให้ passive ventilation technique โดยให้ high flow O2ผ่าน face mask with oropharyngeal airway จะได้ผลลัพท์ที่ดีขึ้น

คนปั๊มหัวใจ นับเสียงดังขณะปั๊มหัวใจ คนที่ช่วยหายใจ คอยเปิด airway ไว้ และคอยแนะนำให้คนที่ปั๊มหัวใจทำให้ได้คุณภาพ เปลี่ยนกันทุก รอบหรือ นาที

Rapid defibrillation 
  • เมื่อเครื่อง AED มาถึงให้เริ่มใช้ได้เลยไม่ต้องรอ CPR ให้ครบ cycle
  • ช็อกไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ทำได้ (เมื่อมีข้อบ่งชี้) รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุดทั้งก่อนและหลังการช็อกไฟฟ้า ทำการกดหน้าอกต่อทันทีหลังการช็อกไฟฟ้า
  • ในเด็กแนะนำให้ใช้ AED with paediatric attenuator หรือ manual defibrillator เริ่มจาก2 J/kg (4 J/kg ใน dose ที่สอง) และใช้ paddle เด็กถ้า < 10 kg
ในเด็ก < 8 ปี หรือ < 25 kg ถ้าใช้ AED ต้องมี pediatric dose attenuator
นเด็ก < 1 ปีหรือ < 10 kg ถ้าใช้เครื่อง defibrillator ให้ใช้ paddle เด็ก
***ถ้าเป็น witnessed arrestที่เป็น shockable rhythm สามารถกดหน้าอกต่อเนื่อง 200 ครั้ง ร่วมกับการให้ passive O2(เช่น on O2 mask)และ airway adjuncts สลับกับ defibrillation x 3 cycle


ข้อควรระวัง 
  • ห้ามสัมผัสผู้ป่วยขณะทำการช๊อกไฟฟ้าหัวใจ แม้ว่าจะใส่ถุงมือ 2 ชั้นก็ยังอาจไม่ปลอดภัย
  • ถ้าผู้ป่วยอยู่บนที่เปียกให้เคลื่อนย้ายมาที่แห้งก่อน
  • Manual defibrillator ให้ถือชี้ลงล่างเสมอ การชี้แผ่นเข้าหากันหรือโบกแผ่นไปมาอาจทำให้พลังงานถูก discharge ออกเองได้
  • ในคนที่มีขนหน้าอกเยอะแล้วเครื่องไม่สามารถ analyze rhythm ได้ ให้ดึง adhesive paddle ออกเร็วๆให้ขนหลุดติดออกมา แล้วค่อยติดแผ่นใหม่
  • ในคนที่ผิวหนังเปียกชุ่ม ให้เช็ดให้แห้งก่อน (ไม่ถึงกับต้องแห้งสนิท)
  • ถ้ามีโลหะบนร่างกาย หรือแผ่น nitroglycerine ให้เอาออกก่อน
  • ระวังไม่ให้มี O2ไหลผ่านบริเวณที่จะช๊อกไฟฟ้า
  • ไม่ให้ gel กระจากไปใกล้ paddle อื่นภายใน 5 cm
  • ไม่วาง paddle ใกล้กับ internal pacemaker < 12.5 cm
Audiovisual feedback device ระหว่าง CPR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ CPR
Recovery position 
  • ถ้าผู้ป่วยหมดสติ แต่หายใจได้เอง ไม่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังบริเวณคอ ให้จัดท่าพักฟื้น

Foreign body obstruction
  • ในรายที่ยังพูดได้ ไอได้ ไม่เขียว ให้ปล่อยให้ผู้ป่วยหายใจเองขณะที่รอความช่วยเหลือ
  • ทำ Heimlich maneuver หรือทำ chest thrust ในคนท้องหรืออ้วนจนไม่สามารถโอบรอบท้องได้

Heimlich  maneuver
Family presence during CPR
  • แนะนำให้อนุญาตให้ญาติอยู่ขณะทำ CPR ได้ (ถ้าไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำ CPR) พบว่าไม่มีผลกับ survival rate แต่มีประโยชน์กับจิตใจของญาติ



Ref: AHA adult BLS and CPR quality 2015, Tintinalli ed8th



Viewing all articles
Browse latest Browse all 546

Trending Articles



<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>