Quantcast
Channel: ER goldbook
Viewing all articles
Browse latest Browse all 546

Neonatal resuscitation

$
0
0

Neonatal resuscitation (แรกเกิด-1 สัปดาห์)

รวบรวมประวัติที่จำเป็นได้แก่ LMP, GA, GxPyAz, โรคประจำตัว, ปัญหาที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์, ไข้, น้ำเดิน, มีขี้เทาปน?

ตรวจสอบอุปกรณ์ที่จำเป็นพร้อมใช้งานอาทิเช่น

Radiant warmer สามารถปรับอุณหภูมิได้, ผ้ารับเด็กอุ่น

Wall suction, สาย suction, ลูกยางแดง

Heat/humidified O2 source, O2 blender

ECG monitor, pulse oximeter, ETCO2

BVM with manometer, laryngoscope (no. 0, 1), ETT (no. 2.5, 3.0, 3.5, 4.0)

NG (5F, 8F), infusion pump, 10DW, NSS  

Umbilical catheter (3.5F, 5F)

Suture sets (blade, needle holder, curved hemostat, scissors, iris curved forceps (no teeth) x 2, suture material)

Syringes, 3-way stopcock

Umbilical tape

Povidone-iodine solution

 


 Routine neonatal care

 1. ครบกำหนด? ร้องดัง?Toneดี?ถ้าดีทั้ง 3 อย่าง คือ ทารกครบกำหนด ร้องเองได้ดี มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อปกติ เคลื่อนไหวแขนขาได้ดี ให้ส่งคืนแม่ ให้ทารกสัมผัสแนบเนื้อกับแม่

  • Delayed cord clampingคือ รอ > 30 วินาที จึงค่อย clamp cord(อาจทำ early cord clamping ถ้าเป็นภาวะที่ไม่น่าจะมี placental transfusion เช่น maternal hemorrhage, hemodynamic instability, placental abruption, placenta previa)
  • Temperature management: รักษาให้อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 36.5-37.5oCโดยเฉพาะใน GA < 33 wks. หรือ VLBW (< 1,500 g) โดยให้ทารกสัมผัสแนบเนื้อกับแม่ และวิธีอื่นๆร่วมกัน เช่น เพิ่มอุณหภูมิห้อง ใช้ radiant warmer ให้อยู่ในถุงพลาสติกหรือห่อด้วยพลาสติกถึงระดับคอ หรือใช้ warm humidified inspired gas เป็นต้น
  • Clear secretion: ถ้ามี fluid obstruction ทางเดินหายใจ หรือหายใจลำบาก แต่ถ้าร้องดัง หรือ หายใจดี ไม่ต้อง suction แม้ว่าจะเป็น meconium stained
  • Stimulate: ถ้าดูหายใจไม่ดี ให้ช่วยกระตุ้นโดยการเช็ดตัว ถูหลังและฝ่าเท้า รวมถึงก่อนและหลังทำ PPV

 

ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ ครบกำหนด? ร้องดัง?Toneดี?คือ เป็น preterm หรือ ดูซึมๆ ให้รีบช่วยเหลือ ดังนี้

  • นำทารกไว้ใต้ Radiant  warmer ปรับอุณหภูมิห้องที่ 26oC
  • เช็ดตัวและศีรษะให้แห้ง แล้วเปลี่ยนเป็นผ้าแห้งผืนใหม่
  • ถ้ายังไม่ร้อง ให้ลูบหลัง หรือดีดฝ่าเท้า 2-3 ครั้ง
  • ถ้ายังไม่มีการตอบสนอง ให้เปิดทางเดินหายใจ ทำ jaw thrust จัดท่า sniff position (ผ้ารองใต้ไหล่)
  • ถ้ามีลักษณะ airway obstruction ให้ suction (ลูกยาง หรือ catheter 8F)ด้วยความนุ่มนวลจากปากและจมูก

 

ทำ PPV 30 วินาทีแล้วประเมิน วินาที แต่ถ้าทำ chest compression ร่วมด้วยใช้เวลาครั้งละ 45-60 วินาที

 2.   หายใจ,HR, สีผิวติด 3-lead EKG

  • ถ้าดีทั้ง 3 อย่าง ให้ส่งคืนแม่
  • ถ้า HR > 100 แต่ยังมี central cyanosis หรือหายใจลำบาก ให้ติด probe มือขวา และให้ O2จนได้ Targeted Preductal SpO2และถ้ายังไม่ดีขึ้นพิจารณาให้ CPAP (แทนการใส่ ETT)
  • ถ้าไม่หายใจ หายใจเฮือก หรือ HR < 100 ภายใน 1 นาทีหลังคลอด: ให้ทำ PPV 20-25 cmH2O(up to 30 cmH2O), 40-60 ครั้งต่อนาที(inspiratory time < 1s),PEEP 5 cmH2O โดยเลือก BVM 200-750 mL (ถ้าทำ PPV หลายรอบควรใส่ OG ด้วย), ติด probe มือขวา เริ่ม resuscitation จาก room air ก่อนและค่อยๆปรับให้ O2จนได้ Targeted Preductal SpO2
  • ถ้ามี airway obstruction ระหว่างทำ PPV ใน meconium stained amniotic fluid ให้ intubation และทำ tracheal suction

ถ้าทำ PPV แล้วหน้าอกไม่ยกหรือไม่ได้ยินเสียงหายใจต้องประเมินดังนี้

  • mask แนบหน้าสนิท
  • จัดท่าถูกต้อง
  • ดูดเสมหะ
  • เปิดปาก
  • เพิ่มแรงดัน ถ้า chest ไม่ยก

ถ้ายังช่วยหายใจได้ไม่มีประสิทธิภาพให้พิจารณาใส่ laryngeal mask (> 34 wk., > 2,000 gm) หรือใส่ ETT

 

3. HR < 100 หลังทำ PPV30 วินาทีให้ดูว่า ventilate ถูกต้องหรือไม่ และพิจารณาใส่ ETT

การใส่ ETT ควรจำกัดเวลาในการใส่ไม่เกิน 30 วินาที ให้ free flow O2ในขณะใส่ ETT และคอยดู HR (ระหว่างใส่ถ้า HR < 100 ต้องหยุดทำ PPV ก่อน) ใส่ลึก = 6 + น้ำหนัก (kg)หลังจากยึด ETT แล้วให้ตัด ETT เหลือจากมุมปาก 4 เซนติเมตร (ถ้ามีเวลาอาจตัด ETT ตั้งแต่ก่อนใส่ให้เหลือ 13 cm)และติด ETCO2เพื่อยืนยันตำแหน่ง ETT

Birth weight

GA

ETT no

Blade

Suction (ETT no x 2)

< 1,000

< 28

2.5

0

5F/6F

1,000-2,000

28-34

3.0

0

6F/8F

2,000-3,000

34-38

3.5

0

8F

> 3,000

> 38

3.5-4.0

1

8F/10F

**สาเหตุอื่นๆในการใส่ ETT ได้แก่ ทำ chest compression, ต้องให้ยาทาง ETT, สงสัย diaphragmatic hernia, extremely LBW (< 1,000 g)

 

4.  HR < 60 หลังทำ PPV 30 วินาที ให้ทำ chest compressionโดยกดหน้าอกแบบ two thumb encircling technique ที่ตำแหน่ง lower third ของ sternum ลึก> 1/3 ของ chest wall(อาจยืนกดหน้าอกทางด้านหัวเตียง ทำให้สามารถใส่umbilical catheter ไปพร้อมกันได้) ร่วมกับ ventilation (ETT) ด้วย 100% O2ในอัตราส่วน 3:1(นับ หนึ่งและสองและสามและบีบและซ้ำ”) จะเท่ากับการกดหน้าอก 90 ครั้งและช่วยหายใจ 30 ครั้งต่อ 1 นาที

  

5.   HR ยัง< 60หลัง chest compression (45-60 วินาที)

  • ให้ epinephrine (1:1,000) ผสมเป็น 1:10,000ให้ 0.01-0.03 mg/kg(0.1-0.3 ml/kg) IVหรือ 0.05-0.1 mg/kg (0.5-1 ml/kgETTq 3-5 min
  • ทำ chest compression ต่อไปเรื่อยๆจนว่า HR > 60/min
  • พิจารณาให้ volume expansion(NSS, RLS, PRC 10 ml/kg IV 5-10 min) ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อ resuscitation (ventilation, chest compression, epinephrine) และสงสัย blood loss (เช่น pale, weak pulses, persistent bradycardia)
  • พิจารณาว่ามี pneumothorax หรือไม่

 

Emergent umbilical catheter insertion

  • ผูก cord ที่โคนหลวมๆ ป้องกันไม่ให้เลือดออก ตัด cord เหนือ skin 2 cm
  • Flush umbilical catheter (3.5F, 5F สำหรับ > 1.2 kg) ด้วย NSS ต่อ syringe 3 mL และ 3-way stopcock
  • ใส่ catheter ไปใน umbilical vein 2-3 cm จะดูดได้เลือด free flow

ส่งตรวจที่เกี่ยวข้องเช่น Hct, glucose-POCT, CXR, ABG

 

Postresuscitation care

  • ทารกแรกเกิดที่ได้ prolonged PPV หรือ advanced resuscitation (intubation, chest compressions, epinephrine) ให้ admit NICU และถ้า GA > 36 สัปดาห์ ให้พิจารณาทำ therapeutic hypothermia ในรายที่สงสัย HIE
  • ติดตามระดับ glucose level
  • ในรายที่มี unintentional hypothermia (< 36oC) ให้ rewarm (เร็ว > 0.5oC/hหรือ ช้า< 0.5oC/h ก็ได้)

 

การตัดสินใจไม่ทำการ resuscitationให้พูดคุยกับครอบครัวของทารกเป็นรายๆไปโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น extremely preterm birth (< 22-24 wks.), severe congenital anomaly เป็นต้น

 

พิจารณาหยุด resuscitationเมื่อไม่มีสัญญาณชีพ (no pulse, no respiratory effort)หลังจาก resuscitation (+ intubation, epinephrine)20 นาที

Specific problems ใน newborn

Central cyanosis:
  1. ดู ฟังแยกว่าเป็นสาเหตุจากระบบไหน ได้แก่
  • Airway obstruction มี retraction, grunting, stridor
  • Pulmonary มีหายใจเร็ว ร่วมกับ grunting หรือ retraction มี rales, rhonchi
  • Cardiac มีหายใจเร็ว แต่ไม่มี retraction หรือ grunting
  • CNS หายใจช้า ตื้น
  • คลำpulseจับpreductal และ postductal SpO2ช่วยวินิจฉัย coarctation of aorta, PPHN, hypoplastic Lt heart syndrome
  • Hyperoxia testให้ 100%O2hood 5-10 นาที เพื่อแยก cardiac จาก pulmonary; ถ้า O2 sat เพิ่ม > 20% (PaO2> 100) แสดงว่าเป็น pulmonary, ถ้าเพิ่มน้อยแสดงว่ามี shunt (cyanotic heart หรือ PPHN)
  • Ix: CBC, H/C, U/C, CPR, CXR, echocardiogram
    Tx:PPV, ETT, monitor blood gas, 10DW 3.3 mL/kg/h, monitor glucose, ATB r/o sepsis, PGE1 0.05 mcg/kg/min ถ้า r/o cyanotic heart ไม่ได้


    Pneumothorax
    • มักพบร่วมกับ RDS, meconium aspiration syndrome, pneumonia, pulmonary hypoplasia, congenital diaphragmatic hernia; ใน preterm มักพบตามหลัง ICH
    • มี decrease breath sound, displace ของ heart sound และ point of maximum impulse, ตรวจ transillumination test; Bed side US, CXR
    Tx: ถ้าเป็นไม่มากอาจสังเกตอาการเฉยๆ, ใน term newborn ให้ 100%O2 hood 6-12 ชั่วโมง, ใน tension pneumothorax ใส่ percutaneous catheter no.18, 20 ที่ 4th ICS ระดับ anterior axillary line ต่อ 3-way stopcock ดูดด้วย syringe 10-, 20 mL เมื่ออาการดีขึ้นอาจเปลี่ยนเป็น ICD 10F, 12F หรือ pigtail catheter 8.5F


    Hypoglycemia
    • เสี่ยงในกลุ่ม LBW (< 2.5 kg), SGA, LGA (> 4 kg), diabetic mother, hypothermia, sepsis, intrapartum stress
    • ชั่วโมงแรกหลังคลอด ถ้า glucose < 25 mg/dL ให้ 10DW bolus 2 mL/kg IV, ถ้า glucose 25-44 mg/dL ให้ feeding แล้วประเมินซ้ำอีก 1 ชั่วโมง
    • หลังอายุ 4 ชั่วโมง glucose ปกติต้อง > 45 mg/dL, ถ้า glucose 35-44 mg/dL ให้ feeding แล้วตรวจ 1-hour postpandial glucose

    Congenital diaphragmatic hernia
    • หายใจแบบ halting, gasping, เขียว, ท้องแฟบ ได้ยินเสียง bowel sound ที่หน้าอก
    Tx: รีบใส่ ETT (เพราะ BVM ทำให้ GI content ในช่องอกโป่งมากขึ้น), ช่วย ventilation RR 40-50/min, PIP น้อยที่สุดที่เห็นหน้าอกยก,ให้ hyperventilation เล็กน้อยให้ PaCO230-35 mmHg เพื่อลด pulmonary vascular resistance, ใส่ OG 10F with suction


    Gastroschisis, omphalocele
    • ระวัง hypothermia ให้อยู่ใต้ radiant warmer
    • Omphalocele ให้ คลุม sac ด้วย warmed saline gauze พันด้วย Kerlix (gauze roll) แล้วปิดด้วย plastic wrap, ให้ 10DW 1.5 MT (5-6 mL/kg/h), monitor UO/electrolytes
    • Gastrochisosถ้ามี bowel torsion (สีคล้ำ) ให้หมุนกลับอย่างนุ่มนวล, คลุม bowel เช่นเดียวกับ omphalocele, ให้ 10DW 6-7 mL/kg/h
    • ให้ ampicillin 50-100 mg/kg IV + gentamicin 4-5 mg/kg IV

    Tracheoesophageal fistula
    • ถ้ามี esophageal atresia มักจะรู้ก่อนเพราะว่าจะมี polyhydramnios
    • ทารกจะมี oral secretion มาก เมื่อใส่ NG tube จะไปขดใน esophageal pouch หรือถ้า bolus air 5 mLจะไม่ได้ยินเสียงใน stomach; ตรวจ CXR ขณะที่มี NG tube
    Tx: ให้ยกศีรษะสูง,ใส่ NG ใน esophageal pouch แล้วต่อ intermittent suction, NPO, ให้ 10DW




    Viewing all articles
    Browse latest Browse all 546

    Trending Articles



    <script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>