Quantcast
Channel: ER goldbook
Viewing all articles
Browse latest Browse all 546

Acute pharyngitis

$
0
0

Acute pharyngitis

สาเหตุ
  • สามารถแบ่งกว้างๆออกเป็น infectious และ non-infectious
  • Infectious causes ได้แก่
    • Respiratory virus (25-45%) มักมีอาการของ URI ได้แก่ อ่อยเพลีย คัดจมูก ไอ น้ำมูก ตาแดง จาม เสียงแหบ ปวดหู ปวดหน้า แผลในปาก ผื่น อาจมีไข้ต่ำๆ ยกเว้น influenzaที่จะมีไข้สูง
    • Group A Streptococcus (GAS) (5-15%) มีอาการเจ็บคอเฉียบพลัน ไข้ pharyngeal edema, patchy tonsillar exudates, prominent tender anterior cervical lymphadenopathy, palatal petechiae, scarlatiniform rash, และ strawberry tongue
    • อื่นๆ ได้แก่ Group C/G Streptococcus, A. haemolyticum, F. necrophorum, M.  pneumoniae, C. pneumoniae, C. diphtheriae, F. tulatensis
    • Acute HIV infection และ STI (N. gonorrhoea, T. pallidum)
    • EBV, CMV, HSV
  • Noninfectious cause ได้แก่ allergic rhinitis/sinusitis, GERD, smoking, dry air, trauma, vocal strain, ACEI, CMT, autoimmune disease (Kawasaki disease; periodic fever with aphthous stomatitis, pharyngitis, adenitis [PFAPA]; Behcet syndrome)

Approach:
  1. ประเมินว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่
  • Airway obstruction ได้แก่ muffled voice, drooling, stridor, respiratory distress, “Sniffing” positions ส่วนใหญ่เกิดจาก infectious mononucleosis
  • Deep neck infection ได้แก่ severe unilateral sore throat, bulging ของ pharyngeal wall/soft palate/oropharynx, neck pain/swelling/torticollis, crepitus, trismus, stiff neck, toxic appearance, fever/rigors, Hx ของ penetrating trauma ของ oropharynx
  • ประเมิน respiratory viral syndrome ได้แก่ อาการไอ (ร่วมกับไข้ ไม่สบายตัว)คัดจมูก น้ำมูกไหล ตาแดง แผลในปาก ผื่น (viral exanthem) ให้รักษาแบบ viral pharyngitis
  • ประเมินถ้ามีอาการที่สงสัย GAS(ไม่มีลักษณะของ viral syndrome)หรือ Centor cirteria > 3 ข้อ ให้ตรวจยืนยันด้วย rapid antigen test (RADT) และในกลุ่มเสี่ยง (เช่น immunocompromised, Hx acute rheumatic fever)ถ้า negative RAPT ให้ตรวจ throat viral C/S ต่อ
    • อาการที่สงสัย ได้แก่ เจ็บคอเฉียบพลัน ไข้ มี tonsillopharyngeal/uvula edema, patchy tonsillar exudates, cervical lymphadenitis (มักเป็น anterior และ tender), scarlatiniform skin rash/strawberry tongue (scarlet fever), ประวัติสัมผัส GAS
    • Centor criteria > 3 ข้อ ได้แก่ tonsillar exudates, tender anterior cervical lymphadenopathy, fever, no cough
  • ประเมินความเสี่ยงต่อ STI (ดูเรื่อง STI) ซัก sexual history ที่พบบ่อยได้แก่ acute HIV และ gonorrhea; ให้ตรวจ syphilis ร่วมด้วย
    • Acute HIV สงสัยในรายที่อาจสัมผัสโรคมาภายใน 3 เดือน มีอาการ pharyngitis ร่วมกับ fever, mucocutaneous ulcers, และอาการของ acute retroviral syndrome
    • Gonococcal pharyngitis สงสัยในรายที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะเป็น receptive oral intercourse


    Tx:
    • Airway obstruction, Deep neck infection ดูเรื่อง Neck, upper airway emergency; serious viral infection; ดูเรื่อง C. diphtheria, influenza, HIV, syphilis เพิ่มเติม
    • GAS pharyngitisแนะนำให้ ATB ได้แก่ amoxicillin 500 mg PO BID (หรือ 1000 mg OD) x 10 d หรือ cephalexin 500 mg PO BID x 10 d (ใน mild penicillin allergy) หรือ azithromycin 500 mg OD x 3 d (ใน severe penicillin allergy) หรือ clindamycin 300 mg PO TID x 10 d
    • Analgesicได้แก่ NSAIDsหรือ paracetamol ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอภายใน 1-2 ชั่วโมง
      • แนะนำให้เริ่มในขนาดที่ต่ำกว่าขนาดรักษาปกติ (ibuprofen 200-400 mg, aspirin 325 mg, paracetamol 325 mg) อาจเพิ่มเป็นขนาดปกติได้ ถ้าต้องการบรรเทาอาการปวดมากขึ้น
      • จากการศึกษาพบว่า ibuprofen มีประสิทธิภาพดีกว่า paracetamol; paracetamol (500 mg) ผสมsodium bicarbonate (630 mg) จะดูดซึมเร็วขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดมากขึ้น
    • Glucocorticoidsเดิมมีการใช้ dexamethasone 10 mg PO single dose เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ แต่ปัจจุบันสมาคมต่างๆ (IDSA, NICE) ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะสามารถใช้ยาอื่นที่มีประสิทธิภาพและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าแทนได้
    • Topical therapiesแนะนำให้ใช้เสริมจาก oral analgesic ในการบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาในรูป lozenges และ tablets จะมีประสิทธิภาพมากกว่า sprays และ gargles
      • Lozengesตัวยาสำคัญที่มีการใช้ ได้แก่ menthol, dyclonine, benzocaine, hexylresorcinol, lidocaine, ambroxol, AMC/DCBA, flurbiprofen, ibuprofen
      • Throat sprayตัวยาสำคัญที่มีการใช้ ได้แก่ phenol, benzocaine, chlorhexidine gluconate, benzydamine hydrochloride
      • วิธีลดอาการเจ็บคออื่นๆ ได้แก่ กลั้วน้ำเกลือ กินน้ำแข็งหรือดื่มน้ำอุ่นแทนน้ำอุณหภูมิห้อง กินอาหารอ่อนที่อุ่นร้อน กินน้ำผึ้ง อมลูกอม ดื่มชามะนาว หรือดื่มชาที่ผสมสารต่างๆ เช่น  licoriceroot, elm inner bark, marshmallow root, licorice root aqueous dry extract
    • ปรับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้เครื่องทำความชื้น หลีกเลี่ยงควันบุหรี่

    Prognosis
    • ในรายที่เข้าได้กับ viral pharyngitis หรือตรวจ negative RADT ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 5-7 วัน ส่วนใน GAS pharyngitis จะหายภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังได้ ATB
    • ในรายที่อาการไม่ดีขึ้น ควรตรวจเพิ่ม เช่น infectious mononucleosis (EBV, CMV), acute HIV infection, A. haemolyticum (aerobic throat C/S), F. necrophorum (anaerobic throat C/S), suppurative complication, noninfectious cause; หรือในรายที่ยืนยันว่าเป็น GAS pharyngitisแต่อาการไม่ดีขึ้นใน 72 ชั่วโมง ให้หา suppurative complication หรืออาจเป็น chronic GAS carriage ซึ่งต้องหาการวินิจฉัยอื่นเพิ่มเติม


    Ref: Up-To-Date

    Viewing all articles
    Browse latest Browse all 546

    Trending Articles