Quantcast
Channel: ER goldbook
Viewing all articles
Browse latest Browse all 555

การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Services)

$
0
0
การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Services)
คือ การขยายการบริการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินออกไปครอบคลุมตั้งแต่ก่อนที่ผู้ป่วยจะมาถึงโรงพยาบาล

องค์ประกอบ 15 อย่างในการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้แก่
  1. กำลังคน (Manpower) :มีการกำหนดบทบาทหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของกำลังคน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เวชกรฉุกเฉิน (EMT) และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับเบื้องต้น (First responder)
  2. การฝึกอบรม (Training): การผลิตบุคลากรใหม่ให้เพียงพอต่อความต้องการและมีการให้การศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคคลากรเก่า (เช่นแบบออนไลน์)เพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัยและคงทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
  3. ระบบสื่อสาร (Communications)มีเบอร์โทรศัพท์ที่จำง่ายและสามารถใช้ได้ทั้งประเทศ (1669 หรือ 911) มีระบบที่สามารถระบุตำแหน่งพิกัดสถานที่โทรแจ้งได้ มีเจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุที่ได้รับการอบรมให้สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ส่งทีมที่เหมาะสมออกไป รวมถึงให้คำแนะนำด้านการรักษามีระบบการสื่อสารระหว่างทีมที่ออกปฏิบัติการและโรงพยาบาลปลายทาง ระบบเทเลเมดิซีน (Telemedicine) ให้แพทย์สามารถดูแลและให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลาและเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีระบบการสื่อสารสำรองในกรณีที่ระบบหลักใช้งานไม่ได้ (เช่นเกิดภัยพิบัติ)
  4. การลำเลียง (Transportation)โดยรถแบ่งออกเป็น รถสำหรับชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐานและระดับกลางหรือสูง ซึ่งมียาและอุปกรณ์ที่แตกต่างกันตามระดับของบุคลากรที่ออกปฏิบัติงาน ในระดับต้นอาจมี AED, O2, BVM, อุปกรณ์ดาม ยึด ตรึงและอุปกรณ์ทำแผล แต่ไม่มียาหรืออุปกรณ์ IV นอกจากนี้ยังมีการลำเลียงทางเฮลิคอปเตอร์และทางเรืออีกด้วย
  5. โรงพยาบาลปลายทาง (Facilities and Critical-Care Units)มีระบบการส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากความหนักเบาของผู้ป่วย และความชำนาญเฉพาะด้านของแต่ละโรงพยาบาล อาจจัดทำเป็นฐานข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต รายงานสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินและจำนวนเตียงว่างของโรงพยาบาล
  6. ความร่วมมือกับฝ่ายตำรวจและดับเพลิง(Public safety agencies)โดยให้การดูแลด้านความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเมื่อไปถึงที่เกิดเหตุเป็นคนแรกก็สามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้และบ่อยครั้งที่บุคคลากรทางการแพทย์อาจเข้าไปให้การสนับสนุนด้านการแพทย์แก่ฝ่ายตำรวจหรือดับเพลิงในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย
  7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ (Consumer participation) ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย อาจมีระบบการบริหารจัดการระดับท้องถิ่นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีตัวแทนจากประชาชนเป็นหนึ่งในกรรมการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของท้องถิ่น และรวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเป็นอาสาสมัคร
  8. การเข้าสู่บริการ (Access to care)ต้องให้มั่นใจได้ว่าประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลได้ในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่มีเงื่อนไขของค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ต่างๆมาเป็นอุปสรรค อาจต้องมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการออกไปในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล หรืออาจใช้เฮลิคอปเตอร์
  9. การส่งต่อผู้ป่วย (Patient transfer)ระหว่างโรงพยาบาล มีการตกลงร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลต่างๆ กำหนดแนวทางการประสานงานการส่งต่อ ในโรงพยาบาลต้นทางต้องทำการตรวจและพยายามรักษาผู้ป่วยให้มีอาการคงทีเสียก่อน
  10. การบันทึกข้อมูล (Coordinated patient record keeping)ต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ง่ายและมีมาตรฐานเดียวกัน มีการรักษาความลับข้อผู้ป่วย ปัจจุบันใช้การบันทึกลงในฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ซึ่งโรงพยาบาลสามารถพิมพ์ออกมาได้
  11. การให้ข้อมูลและความรู้แก่ประชาชน (Public information and education) ให้รู้จักการโทรแจ้งเหตุเฉพาะในกรณีที่จำเป็น สอนให้รู้จักการดูแลตนเองเบื้องต้น การกู้ฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติเบื้องต้น
  12. การทบทวนและประเมินผล (Review and evaluation)ให้ทำเป็นประจำ อาจทำโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้แก่ การตรวจสอบระบบการสื่อสาร กรอบเวลาต่างๆ เช่น เวลาในการออกเหตุ เวลาที่สถานที่เกิดเหตุ การบันทึกข้อมูล ผลการรักษา รวมถึงการทำวิจัยในการพัฒนางานด้านนี้
  13. แผนรับมือภัยพิบัติ (Disaster plan)ของระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับหน่วยงานอื่นๆมีการซ้อมแผนร่วม การสต็อกอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ
  14. การช่วยเหลือกันระหว่างท้องถิ่น (Mutual aid) มีการตกลงให้ความช่วยเหลือจากท้องถิ่นอื่น ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องการทรัพยากรมากกว่าปกติ ซึ่งหน่วยงานในท้องถิ่นไม่สามารถปฏิบัติงานได้ทัน มีตกลงเรื่องค่าใช้จ่าย และแนวทางการบังคับบัญชาในสถานที่เกิดเหตุ

ระบบ EMS ในอนาคต
  • มีการใช้เครื่อง AED ในการปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น
  • มีการใช้เครื่อง Automatic chest compression
  • การทำ therapeutic hypothermia
  • การ activated catheterization labs ในเคส STEMI
  • ระบบ Telemedicine


สามารถดูคู่มือ/แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับองค์ประกอบข้างต้นสื่อประชาสัมพันธ์ ความรู้ในการปฐมพยาบาล และการเตรียมตัวในภาวะภัยพิบัติได้ที่ www.niems.go.th

Ref: Tintinalli ed8th 

Viewing all articles
Browse latest Browse all 555

Trending Articles



<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>