Quantcast
Channel: ER goldbook
Viewing all articles
Browse latest Browse all 563

แนวทางการออกรับผู้ป่วยสงสัย COVID-19 นอกโรงพยาบาล

$
0
0

 แนวทางการออกรับผู้ป่วยสงสัย COVID-19นอกโรงพยาบาล


Emergency medical dispatcher

  1. ถามคัดกรองอาการและอาการแสดงและความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ของผู้ป่วย
  2. ในรายที่เข้าเกณฑ์ (possible PUI) ให้แจ้งแพทย์EMS ที่ออกปฏิบัติงานและแจ้งหัวหน้าเวร ER เพื่อเตรียมพร้อม

แพทย์ EMS และทีม

  1. ถ้าทราบก่อนว่าเป็นผู้ป่วยที่สงสัย COVID-19 ให้ใส่ PPE ที่แนะนำก่อนเข้าที่เกิดเหตุ
  2. ถ้าไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นผู้ป่วยที่สงสัย COVID-19 ให้แพทย์ EMS ระมัดระวังตามสมควร ได้แก่ ประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นจากระยะห่าง > 2 เมตร และ สัมผัสผู้ป่วยให้น้อยที่สุดก่อนที่ผู้ป่วยจะสวม facemask
  • ถ้าสงสัย COVID-19 ให้ใส่ PPEที่แนะนำ
  • ถ้าไม่สงสัย COVID-19 ให้ทำ standard precaution สำหรับผู้ป่วยที่อาจมีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • ให้ผู้ป่วยสวม facemask ถ้าต้องใส่ nasal cannula ให้ใส่ไว้ใต้ facemask หรือใส่ oxygen mask ถ้ามีข้อบ่งชี้
  • ระหว่างเดินทางให้บุคลากรอยู่ภายในห้องโดยสารเดียวกับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
  • บางรพ.อาจใช้ negative pressure bed


    PPE ที่แนะนำเมื่อสงสัย COVID-19

    • แพทย์และทีมที่อยู่ในห้องโดยสารเดียวกับผู้ป่วย
      • N95 respirators หรือสูงกว่า หรือใส่ facemask (ถ้าไม่มี N95)
      • Eye protection (goggles หรือ disposable face shield ที่ปิดทั้งด้านหน้าและด้านข้าง)
      • ใส่ disposable gloves หนึ่งชั้น
      • Gown (ถ้าทรัพยากรไม่เพียงพอ อาจใช้เฉพาะเมื่อทำ aerosol-generating procedure หรือเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยบ่อย เช่น ต้องยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย)
    • คบขับรถ
      • ถ้าต้องสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงให้ใส่ PPE เช่นเดียวกับแพทย์
      • ถ้าห้องคนขับแยกกับห้องโดยสาร(เมื่อไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วยแล้ว) ก่อนขึ้นรถให้ถอด PPE ออกและทำ hand hygiene
      • ถ้าห้องคนขับไม่แยกจากห้องโดยสาร ให้ถอด face shield, goggles, gown,และgloves ออก แล้วทำ hand hygiene แต่ยังคงใส่ N95 หรือ facemask ตลอดเวลา
    • หลีกเลี่ยงการจับใบหน้าตลอดเวลา
    • เมื่อส่งผู้ป่วยที่รพ.แล้วให้ถอด PPE และทำ hand hygiene

     

    ในกรณีที่จำเป็นต้องทำ aerosol-generating procedures

    เช่น บีบ BVM, ทำ oropharyngeal suctioning, ใส่ ETT, พ่นยา, CPAP, biPAP, CPR

    • ใส่ N95 respirator หรือสูงกว่า ร่วมกับ PPE อื่นข้างต้น
    • BVM หรือ ventilator ต้องมี HEPA filtration ที่ฝั่งหายใจออก
    • ถ้าทำได้ให้เปิดประตูด้านหลังรถ (ห่างจากคนภายนอก)

     

    ข้อปฏิบัติระหว่างเดินทางในผู้ป่วยสงสัย COVID-19

    • แพทย์แจ้งกลับมาที่รพ.เพื่อเตรียมพร้อมรับผู้ป่วย
    • ให้ผู้ป่วยอยู่ห่างจากบุคคลอื่นมากเท่าที่ทำได้
    • ญาติผู้ป่วยที่สงสัย COVID-19 ไม่ควรโดยสารมาพร้อมกับผู้ป่วย ถ้าจำเป็นให้สวม facemask
    • ถ้ารถเป็นแบบห้องโดยสารแยก
      • ปิดทางติดต่อระหว่างห้องโดยสารกับห้องคนขับไม่ให้อากาศผ่านได้
      • เครื่องปรับอากาศตั้งเป็นโหมดหมุนเวียนอากาศ
      • เปิดพัดลมดูดอากาศอันท้ายให้แรงสุด
    • ถ้ารถเป็นแบบห้องโดยสารเดียวให้เครื่องปรับอากาศตั้งเป็นโหมดหมุนเวียงอากาศและเปิดพัดลมดูดอากาศอันท้ายให้แรงสุด
    • อาจติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ (HEPA filter) ภายในรถ

     

    การทำความสะอาดหลังปฏิบัติงาน

    • เปิดประตูด้านหลังรถทิ้งไว้
    • ขณะทำความสะอาดให้สวม disposable gown และ gloves ; ถ้าต้อง spray หรือ splash ให้ใส่face shield, facemask, และ goggle
    • วิธีทำความสะอาดตามที่แนะนำของ infectious control

     

    Ref: Interim Guidance for EMS


    Viewing all articles
    Browse latest Browse all 563

    Latest Images

    Trending Articles



    Latest Images

    <script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>